ประวัติโรงเรียน

        ในการประชุมสัมมนา ศึกษาธิการอำเภอ และ ศึกษาธิการจังหวัด เขต 11 ที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อ เดือนสิงหาคม 2517 รองอธิบดีกรมสามัญศึกษา ได้กล่าวถึงการขยายการศึกษาระดับมัธยมศึกษาสายสามัญ ทางจังหวัดภาคใต้ โดยเหตุผลว่า มีพลเมืองหนาแน่น มีผู้ก่อการร้ายและโจรผู้ร้ายชุกชุม นายกุศล ไชยคุณ ศึกษาธิการอำเภอเขื่องใน จึงได้เสนอ ตั้งโรงเรียนมัธยมสายสามัญขึ้น ที่ตำบลนาคำใหญ่ อำเภอเขื่องใน โดยอ้างว่าเป็นท้องที่กันดาร และห่างไกล มีแม่น้ำชี้ และแม่น้ำมูล และห้วย คลองต่างๆกั้น การคมนาคมไม่สะดวก รองอธิบดีจึงได้ให้จัดหาที่ดิน และยื่นเรื่องราวขอจัดตั้งไปตามลำดับ ในที่สุด ได้รับมอบว่า ยังไม่สมควรที่จะขยายโรงเรียนมัธยมไปยังตำบล แม้แต่บางอำเภอ ก็ยังไม่อาจตั้งโรงเรียนมัธยมให้ได้ เนื่องจากงบประมาณไม่มีพอ
        ต่อมาในเดือนมกราคม 2518 ซึ่งเป็นปีที่มีสภาผู้แทนราษฎร อธิบดีสามัญศึกษาได้ประกาศให้มีการขยายการศึกษาระดับมัธยมไปสู่ชนบทให้มากขึ้น โดยมีเงื่อนไขว่าประชาชนในท้องถิ่น ต้องให้ความร่วมมือ จัดหาที่ดินให้ไม่น้อยกว่า 35 ไร่ และสร้างอาคารชั่วคราวตามแบบแผนของกระทรวงศึกษาธิการและจัดให้มี สนามเล่นสำหรับเด็กตามสมควร ศึกษาการอำเภอคนเดิมซึ่งได้เสนอเรื่องราวไว้แล้วนั้นจึงได้ออกมาประชุมร่วมกับสภาตำบล ซึ่งในขณะนั้นนายรส สลักคำ เป็นกำนัน และเป็นประธานสภาตำบล ได้เชิญสมาชิกสภาตำบล คณะครู กรรมการหมู่บ้านต่างๆ และเจ้าอาวาสวัดในตำบล มาประชุมร่วมกัน ที่ประชุมได้ลงมติ รับปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ทางราชการกำหนดและได้มีประชาชนในหมู่บ้านทุ่ง บ้านบุตร และบ้านแสงน้อย บริจาคที่ดินให้เป็นสถานที่ปลูกสร้างอาคารเรียน ในทันทีนั้นอย่างเกินพอ โดยในวันที่ 16 มิถุนายน 2518 มีผู้นำชุมชน มีการนัดประชาชนหลายหมู่บ้าน ร่วมสร้างอาคารชั่วคราว จำนวน 6 ห้องเรียน ผู้นำคนสำคัญ มีดังนี้
        1.นายรส สลักคำ กำนันตำบลนาคำใหญ่
        2.นายชม สุวรรณพงศ์ ผู้ใหญ่ โรงเรียนบ้านนาคำใหญ่
ที่ราชพัสดุมีเนื้อที่ไม่เพียงพอ ประชาชนได้ร่วมบริจาคที่ดินเพิ่มเติม ดังนี้ ประชาชนบ้านทุ่ง 8 ราย
        1.คุณตาคุย หมื่นสุข 12 ไร่
        2.นายพิมพา หมื่นสุข 8 ไร่
        3.คุณพ่อพรมมา พาชื่น 1 ไร่ 1 งาน
        4.คุณพ่อค่อน พาชื่น 2 ไร่ 2 งาน
        5.คุณยายเข็ม หมื่นสุข 6 ไร่ 2 งาน
        6.คุณยายอ่อน พาชื่น 1 ไร่ 5 ตารางวา
        7.คุณตาวัน หมื่นสุข 2 ไร่ 2 งาน
        8.คุณตาทิพย์ ศรีเสริม 2 ไร่ 2 งาน
ร่วมกับ ประชาชน บ้านบุตร 6 รายดังนี้
        1.คุณตาหวัน ชาวชอบ 12 ไร่
        2.นายจิตร ชาวชอบ 2 ไร่
        3.นายทองสุข ศรีเสริม 1 ไร่
        4.นายอรัญ บุญไชย 3 ไร่
        5.นายอุดร สิงห์สาย 8 ไร่
        6.นายมั่น สิงห์สาย 2 ไร่
        รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 92 ไร่
        ต่อจากนั้น ศึกษาธิการอำเภอก็ได้ยื่นเรื่องราวขอจัดตั้งโรงเรียนไปตามลำดับอีกครั้งหนึ่ง ส่วนทางสภาตำบลก็เริ่มปราบพื้นที่ก่อสร้างและเริ่มก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ตามแบบแปลน โดยประชาชนในท้องที่ตำบลนาคำใหญ่ได้บริจาคค่าวัสดุก่อสร้างให้ สมทบกับเงินของสภาตำบล ในการก่อสร้างอาคารเรียนนี้ ประชาชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะครู พระสงฆ์ ได้เสียสละแรงงานทำโดยมิได้คิดค่าตอบแทน
        และในเดือนพฤษภาคม 2518 นั้นเอง ทางอำเภอได้แจ้งให้โรงเรียนในตำบลนาคำใหญ่และตำบลใกล้เคียง เปิดรับนักเรียน เพื่อเข้าเรียนในโรงเรียน มัธยมตำบลนาคำใหญ่ พร้อมกับมีหนังสือที่ อ.บ.53/1409 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2518 สั่งให้เปิดการเรียน ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน 2518 เป็นต้นไป โดยให้อาศัยศาลาการเปรียญวัดบ้านทุ่ง เป็นที่ทำการสอนชั่วคราว จนกว่าการก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวจะเสร็จ และได้สั่งให้ยืมตัวครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อทำหน้าที่ต่างๆ เป็นการชั่วคราว คือ
        1.นายประวัติ ทางทอง ครูใหญ่โรงเรียนบ้านทุ่ง ทำหน้าที่ครูใหญ่
        2.นายเหรียญชัย เชื้อทอง ครูโรงเรียนบ้านนาคำใหญ่(ราษฏ์ร์บริบาล) เป็นครูสอน
        3.นายเสถียร ประกอบจันทร์ ครูโรงเรียนบ้านแดงหม้อ เป็นครูสอน
        ในปลายปีเดือน กรกฎาคม 2518 โรงเรียนได้รับหนังสืออำเภอ ที่ อ.บ.53/1921 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2518 ส่งครูมาดำรงตำแหน่ง ในสังกัดของกรมสามัญศึกษา ที่โรงเรียนนี้ รวม 2 ราย คือ
        1.นางสาวละอองศรี ถาวรพัฒน์ วุฒิ กศ.บ.
        2.นายเสถียร คณะพัฒน์ วุฒิ ป.กศ.สูง
        และส่งตัว นายเหรียญชัย เชื้อทอง กับ นายเสถียร ประกอบจันทร์ กลับคืนโรงเรียนเดิม ต่อมาทางอำเภอได้ บรรจุลุกจ้างประจำ ตำแหน่งคนงานภารโรง มาให้ 1 คน คือ นายทองสุข ชูชื่น เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2518 ทางราชการได้บรรจุแต่งตั้ง นายศิรินทร์ ทองรินทร์ วุฒิ ป.วป. (เกษตรกรรม) มาดำรงตำแหน่งครูโรงเรียนนี้ ตลอดปีการศึกษา 2518 โรงเรียนนี้ จึงมีครู 4 คน ภารโรง 1 คน นักเรียน 51 คน การเรียนการสอนในปีการศึกษาแรก (มศ.1) ได้รับผลอยู่ในระดับดีพอควร ในปีการศึกษา 2519 โรงเรียนได้รับครูที่ทางราชการบรรจุมาให้อีก 2 คน คือ
        1.นายประดิษฐ์ คณากรณ์ วุฒิ กศ.บ.
        2.นายประยูร บุญจำเนียง วุฒิ ป.วส. (เกษตร)
        ในปีการศึกษานี้ มีนักเรียนมาเข้าเรียน เพิ่มอีก 39 คน วันที่ 24 สิงหาคม 2519 นายประวัติ ทางทอง ครูใหญ่โรงเรียนบ้านทุ่ง ซึ่งมาทำหน้าที่ครูใหญ่ชั่วคราว ได้กลับไปปฏิบัติหน้าที่ ที่โรงเรียนบ้านทุ่ง ตามเดิม และได้มอบหมายหน้าที่ให้ นางสาวละอองศรี ถาวรพัฒน์ รักษาราชการ ในตำแหน่งครูใหญ่ แทน อนึ่งในปีงบประมาณ 2519 นี้ โรงเรียนได้รับงบประมาณ ค่าก่อสร้าง บ้านพักครู 2 และบ้านพักภารโรง 1 รวม 3 หลัง และห้องน้ำ-ห้องส้วม 1 หลัง
        ในวันที่ 1 เมษายน 2520 โรงเรียนได้รับคำสั่งที่ 1567/2520 ให้ นายสมภาร ทองมั่น ครู(3) ร.ร.เขมราฐพิทยาคม มาดำรงครูใหญ่ (มารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ร.ร.นาคำวิทยา ตั้งแต่ วันที่ 17 มีนาคม 2520) งบประมาณที่ได้รับในปีนี้ บ้านพักครูจำนวน 1 หลัง (70,000 บาท) ครูวุฒิปริญญาตรี (อาจารย์1) เอกอังกฤษ 1 อัตรา แต่ไม่มีผู้ใดสมัครสอบบรรจุ ตลอดปีการศึกษา 2520 ทางโรงเรียนจึงมีครูอาจารย์อยู่ 7 คน (จ้างสอน 1 คน) มีห้องเรียน 1-1-2 (นร.54-36-50 คน) ผลการสอบ ม.ศ 3 สอบได้ยกชั้นทั้ง 2 ห้องเรียน
        วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๑๙ ทางราชการแต่งตั้ง นางสาว ละอองศรี ถาวรพัฒน์ รับราชการในตำแหน่งครูใหญ่ ถึงวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๒o กรมสามัญศึกษาได้สั่งแต่งตั้ง นายสมการ ทองมั่น ตำแหน่ง อาจารย์ 1 โรงเรียน เขมราฐพิทยาคม มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ และในวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๒๗ กรมสามัญศึกษาได้ย้าย นายสมการ ทองมั่น ไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนปลาค้าววิทยานุสรณ์ อำเภอ อำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี และได้แต่งตั้ง นายสันต์ชัย พุทธบุญ อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนกำแมดขันติธรรมวิทยาคม อำเภอกุดชุม จังหวัด ยโสธร มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนนาคำวิทยา ปีการศึกษาแรก พ.ศ. ๒๕๑๘ (๒ มิถุนายน ๒๕๑๘) รับได้ ๒ ห้องเรียน จำนวน ๕๑ คนปีการศึกษา ๒๕๑๙ ได้ข้าราชการครูมาเพิ่มอีก ๒ คน งบประมาณก่อสร้างบ้านพักครู ๒ หลัง บ้านพักภารโรง ๑ หลัง ห้องน้ำห้องส้วม ๑ หลัง จำนวน ๔ ที่ ตลอดปีการศึกษามีครู ๕ คน รับนักเรียนชั้นม.ศ.๑ ได้ ๑ ห้องเรียน จำนวน ๓๙ คน รวมนักเรียนปีนี้ ๙๐ คน
        ปีการศึกษา ๒๕๒๐ ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู ๑ หลัง ครูเพิ่มอีก ๑ คน เปิดสอนถึงชั้นม.ศ๓ นักเรียนทั้งหมด ๑๔๐ คน
        ปีการศึกษา ๒๕๒๑ ได้รับงบประมาณก่อสร้าง อาคารเรียนถาวรแบบ ๑๐๖ ต.๑ หลัง อาคารเรียนชั่วคราว ๔ ห้องเรียน ๑ หลัง บ้านพักครู ๑ หลัง ครู-อาจารย์ รวม ๑๐ คน และเริ่มรับนักเรียนที่จบชั้นป.๖ เข้าเรียนต่อในชั้น ม.๑ เปิดเรียนเป็นม.๑/ม.ศ๑-๓ เป็น ๒/๒-๒-๑ รวมนักเรียนทั้งหมด ๑๙๑ คน
        ปีการศึกษา ๒๕๒๒ เปิดสอน ม.๑-๒/ม.ศ.๒-๑ ๒-๒/๒-๒ อาคารเรียนถาวร ๑๐๖ ล. ได้เปิดใช้ เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๒๒
        ปีการศึกษา ๒๕๒๓ ได้รับงบประมาณก่อสร้างบ้านพักครู แบบ๒๐๒ ก.๑ หลัง ห้องน้ำห้องส้วม นักเรียน ๑ หลัง ๖ ที่ เปิดสอน เป็น ม.๑-๓/ม.ศ.๓ จัดเป็น ๒-๒-๒ /๒ นักเรียนชั้น ม.ศ. 3 รุ่นสุดท้าย
        ปีการศึกษา ๒๕๒๔ ได้รับงบประมาณก่อสร้าง ถังเก็บน้ำฝน 9 สล. แบบ ฝ ๓๓. จำนวน ๑ ชุด ๓ ถัง จัดแผนชั้นเรียน เป็น ม.๑-๓ นักเรียน ๒๐๗ คน
        ปีการศึกษา ๒๕๒๕ ได้รับงบประมาณครุภัณฑ์ คือรถจักรยานยนต์ ๑ คัน ราคา ๑๖,๐๐๐ บาท และปีนี้โรงเรียนได้เข้าโครงการ โรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท รุ่นที่ ๑ ( มพช.รุ่น ๑)
        ปีการศึกษา ๒๕๒๖ ได้รับงบประมาณหมวดค่าที่ดิน และสิ่งก่อสร้างคือโรงฝึกงาน ๒ หลัง ๓ หน่วยเกษตรกรรม อุตสาหกรรม คหกรรม อาคารเรียน(ร.๒๑๓ A ๙ หลัง หอประชุม ๑ หลัง บ้านพักครู ๑ หลัง ๒ หน่วย และงบประมาณปรับปรุงบริเวณรวมไฟฟ้าประปาบาดาล